วันที่ 12 เม.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ...
วันที่ 12 เม.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ออกมาแสดงความไม่พอใจ ที่พรรคประชาธิปัตย์ประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุให้คนที่เคยบอกว่า จะไม่ลงเลือกตั้ง หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติให้ทำตามคำพูด ว่า ไม่แน่ใจว่า นายกฯหมายถึงใคร ในประเด็นอะไร เพราะกรณีที่พูดถึงเรื่องการไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นการตอบคำถาม ว่า ถ้ามีปัญหาว่าพรรคการเมืองไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งจะทำอย่างไร นายกฯบอกว่า ใครที่บอกไม่ลง ขอให้ไม่ลงจริงๆ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยพูดจึงไม่มีประเด็นต้องแลกเปลี่ยนกับนายกฯ และอยากให้ท่านตรวจสอบด้วยว่าเรื่องที่สื่อถามเกี่ยวข้องกับใคร
ส่วนที่นายกฯ ตั้งคำถามว่า กลัวอะไรกับคำถามพ่วง ให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายกฯเอง เคยไม่เห็นด้วย กับการที่จะให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี จึงน่าจะเข้าใจ แต่ถ้าถามว่า กลัวอะไร ตนไม่มีประโยชน์ส่วนตนและของพรรค แต่เป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตที่ห่วงใยบ้านเมือง บนหลักการ อุดมการณ์ที่ทำงานมาตลอดชีวิตในนามพรรค จึงไม่ได้แสดงความเห็นบนพื้นฐานของความกลัว เพราะหากเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจริง สนับสนุนคำถามพ่วงไม่ง่ายกว่า หรือ และทราบดีว่า ถ้าความเห็นตนไปตรงกับพรรคคู่แข่งจะมีคนไม่พอใจ แต่ขอถามกลับว่า ตนจะได้ประโยชน์อะไรกับการช่วยเหลือพรรคคู่แข่ง จึงขอให้ท่านแยกแยะถึงพื้นฐานการแสดงความเห็น ว่า เป็นการแสดงความเห็นด้วยความห่วงใยบ้านเมือง โดยยืนยันว่า พรรคไม่จับมือกับพรรคการเมืองคู่แข่ง แต่การถามคำถามพ่วงให้ ส.ว.เลือกข้างทางการเมืองจะทำให้นายกฯ ที่เคยระบุว่า เป็นกรรมการเกิดปัญหาในการทำงาน เพราะเปลี่ยนจากกรรมการกลายเป็นผู้เลือกข้างแล้ว
“ผมกลัวเหมือนที่ท่านกลัวว่าบ้านเมืองวุ่นวายขัดแย้ง เป็นสิ่งที่ประเทศไม่ต้องการ ถ้าอนุญาตให้คน 250 คน ที่มีที่มาจากที่เดียวกันใช้สิทธิลบล้างความตั้งใจประชาชนทันทีหลังการเลือกตั้ง เชื่อว่า จะทำให้คนที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งรู้สึกว่าสิทธิในการเลือกตั้งไม่มีความหมาย จะเห็นได้ว่า แม้ผมไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแต่ก็ยังไม่ตอบว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะห่วงเรื่องความวุ่นวาย ดังนั้น เมื่อเรามีเจตนาเดียวกัน และท่านเคยทำงานกับผม น่าจะรู้ว่าผมทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่ ขอให้เอาเวลาไปต่อสู้กับคนที่คิดไม่ดีกับบ้านเมือง โดยหาทางออกควรจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าบ้านเมืองวุ่นวาย ประเทศไทยเดินหน้าไม่ได้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า หากบ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้ ประชาชนจะเดือดร้อนหนักขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจ นำไปสู่ความขัดแย้งอีกเพราะถ้า 250 เสียง มาช่วยเสียงข้างมาก ไม่ต้องมีก็ได้ แต่ถ้ามาช่วยข้างน้อยจะเกิดปฏิกิริยาจากเสียงข้างมาก จะทำให้เกิดปัญหา ยืนยันว่า การแสดงความเห็นยึดหลักกฎหมาย ไม่เคยก้าวร้าว หยาบคาย บิดเบือน ข่มขู่ หรือปลุกระดม จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพแนวทางเช่นนี้ และขอให้ กรธ.ระบุให้ชัดเจนว่า หากคำถามพ่วงผ่านการทำประชามติ จะกำหนดกรอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดข้อถกเถียงหรือปัญหาต้องตีความในภายหลังอีก
ส่วนกรณีที่นายกฯระบุว่า เป็นอำนาจของตัวเองในการกำหนดทางออก กรณีร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ โดยไม่ขอบอกล่วงหน้า ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติแล้ว ประชาชนจะมีทางเลือกอย่างไรนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเข้าใจในเรื่องอำนาจ แต่คิดว่า ผู้มีอำนาจควรคิดถึงประชาชนเจ้าของประเทศ ไม่มีใครบังคับนายกฯได้ว่า จะบอกอะไรกับประชาชน แต่สิ่งที่ประชาชนควรรู้ ผู้มีอำนาจก็ควรให้ประชาชนรู้ เมื่อจะทำประชามติให้ประชาชนรู้ให้มากที่สุดไม่ดีกว่าหรือ เพราะเสียทั้งงบฯ และกำลังคนเพื่อให้ได้ความมั่นใจ ว่า ประชาชนต้องการอะไร แต่ถ้าต้องไปใช้สิทธิบนความไม่รู้ การคาดการณ์ ความกลัวหรือความหวังย่อมไม่เป็นผลดี จึงเรียกร้องให้เปิดเผยทุกอย่างให้ได้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของคนทั้งประเทศ สอนบริหารอำนาจ ต้องแยกแยะ
“ผมอยากถามว่า หากเปิดเผยแล้วจะเสียหายอย่างไร อยากให้นายกฯใจเย็น ๆ อากาศร้อนก็ร้อนด้วยกันทุกคน แต่อยากจะเห็นนายกที่มีภาระหนักมากอยู่แล้วว่า ไม่อยากให้เครียด เพราะจะทำให้ประชาชนเครียดไปด้วย นายกฯ ไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็นด้วยกับท่านได้ จึงอยากให้แสดงความเข้าใจ เคารพความเห็นสุจริต พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ทำตัวเป็นปัญหาแต่พยายามให้ความร่วมมือให้บ้านเมืองผ่านช่วงเวลายากๆ ได้ เพราะที่ผ่านมา นายกฯพูดเองว่า ปัญหาเกิดจากการใช้อำนาจในทางที่ทำให้เกิดปัญหา ดังนั้น นายกฯต้องใช้อำนาจให้เป็นแบบอย่างกับรัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้ง เพราะถ้ามีการใช้อำนาจกับคนที่เห็นสุจริต วันหน้าจะมีคนอ้างประชาชนแล้วทำแบบนั้นบ้าง บ้านเมืองไม่ยิ่งอยู่ในวังวนของความขัดแย้งหรือ ผมขอให้แยกแยะคนสุจริตและเคารพความเห็นแตกต่าง โดย คสช.และรัฐบาลไม่ควรทำตัวเป็นคู่ขัดแย้ง” นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่า หากนายกฯไม่บอกว่า จะทำอย่างไร หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติตามที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องจะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็จะตื๊อต่อไป คือ ขอให้พิจารณาให้ดีว่า ถ้าประชาชนรู้ข้อมูลมากที่สุดดีกว่า ซึ่งตนรู้ดีว่าบังคับนายกฯไม่ได้ แต่อยากให้คิดว่าผู้มีอำนาจควรใช้อำนาจเพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลที่รอบด้านเพื่อจะได้ตัดสินใจบนเหตุผลมากที่สุดหรือไม่ เพราะจะทำให้การเมืองเกิดการปฏิรูป ที่ผ่านมาตนไม่เคยเรียกร้องว่า อำนาจต้องอยู่กับนักการเมืองและไม่เคยคัดค้านการตรวจสอบขององค์กรอิสระ แต่บอกว่า คนที่มาจากการเลือกตั้งต้องสามารถผลักดันนโยบายที่เป็นความต้องการของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งได้ อย่าปฏิเสธสิทธิประชาชนและบทบาทของการเมืองที่จะทำสิ่งที่ดีให้ประชาชน และขอให้เข้าใจว่าการแสดงความเห็นโดยสุจริตจะใช้อำนาจบังคับไม่ได้ อย่ามองคนเห็นต่างเป็นปฏิปักษ์
ยกตัวอย่างผลงาน ปชป.ส่วนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่าที่ผ่านมานักการเมืองเคยทำอะไรสำเร็จบ้างนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยกตัวอย่างนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์ ทำจนสำเร็จ อาทิ นโยบายกองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนสวัสดิการชุมชน โฉนดชุมชนที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้ กองทุน กยศ. ขอให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เร่งสานทำต่อ และแยกแยะเรื่องประชานิยม ออกจากสวัสดิการประชาชน อย่าทำให้เกิดความรู้สึกว่า กระบวนการทางการเมือง ไม่เคยแก้ปัญหาให้กับประเทศชาติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวตอนท้ายว่า การแสดงจุดยืนของพรรคไม่ได้ชี้นำให้ประชาชน ในการออกเสียงประชามติ แต่แสดงความเห็นและให้ข้อมูลตามหลักการประชามติที่ต้องให้รับรู้ข้อมูลทั้งสองด้าน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความเห็นได้ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ไม่อย่างนั้นประชามติจะไร้ความหมาย เพราะถ้าต้องการให้คนเห็นด้วยอย่างเดียวก็ไม่ต้องทำประชามติ พรรคให้เกียรติประชาชน ไม่อยากให้อนาคตเราต้องมาพูดวนซ้ำในเรื่องรัฐธรรมนูญอีก แต่ถ้านายกฯ ไม่เห็นด้วย ก็อย่ากล่าวหาซึ่งกันและกัน เพราะตนไม่เคยกล่าวหาใคร แต่พูดเนื้อหาสาระเพื่อให้สังคมการเมืองเข้าสู่เรื่องของเนื้อหาสาระนำไปสู่การปฏิรูปอย่างแท้จริงไม่ใช่มุ่งทำลายกัน
thairath.co.th
ส่วนที่นายกฯ ตั้งคำถามว่า กลัวอะไรกับคำถามพ่วง ให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายกฯเอง เคยไม่เห็นด้วย กับการที่จะให้ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี จึงน่าจะเข้าใจ แต่ถ้าถามว่า กลัวอะไร ตนไม่มีประโยชน์ส่วนตนและของพรรค แต่เป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตที่ห่วงใยบ้านเมือง บนหลักการ อุดมการณ์ที่ทำงานมาตลอดชีวิตในนามพรรค จึงไม่ได้แสดงความเห็นบนพื้นฐานของความกลัว เพราะหากเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจริง สนับสนุนคำถามพ่วงไม่ง่ายกว่า หรือ และทราบดีว่า ถ้าความเห็นตนไปตรงกับพรรคคู่แข่งจะมีคนไม่พอใจ แต่ขอถามกลับว่า ตนจะได้ประโยชน์อะไรกับการช่วยเหลือพรรคคู่แข่ง จึงขอให้ท่านแยกแยะถึงพื้นฐานการแสดงความเห็น ว่า เป็นการแสดงความเห็นด้วยความห่วงใยบ้านเมือง โดยยืนยันว่า พรรคไม่จับมือกับพรรคการเมืองคู่แข่ง แต่การถามคำถามพ่วงให้ ส.ว.เลือกข้างทางการเมืองจะทำให้นายกฯ ที่เคยระบุว่า เป็นกรรมการเกิดปัญหาในการทำงาน เพราะเปลี่ยนจากกรรมการกลายเป็นผู้เลือกข้างแล้ว
“ผมกลัวเหมือนที่ท่านกลัวว่าบ้านเมืองวุ่นวายขัดแย้ง เป็นสิ่งที่ประเทศไม่ต้องการ ถ้าอนุญาตให้คน 250 คน ที่มีที่มาจากที่เดียวกันใช้สิทธิลบล้างความตั้งใจประชาชนทันทีหลังการเลือกตั้ง เชื่อว่า จะทำให้คนที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งรู้สึกว่าสิทธิในการเลือกตั้งไม่มีความหมาย จะเห็นได้ว่า แม้ผมไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแต่ก็ยังไม่ตอบว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะห่วงเรื่องความวุ่นวาย ดังนั้น เมื่อเรามีเจตนาเดียวกัน และท่านเคยทำงานกับผม น่าจะรู้ว่าผมทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่ ขอให้เอาเวลาไปต่อสู้กับคนที่คิดไม่ดีกับบ้านเมือง โดยหาทางออกควรจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าบ้านเมืองวุ่นวาย ประเทศไทยเดินหน้าไม่ได้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า หากบ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้ ประชาชนจะเดือดร้อนหนักขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจ นำไปสู่ความขัดแย้งอีกเพราะถ้า 250 เสียง มาช่วยเสียงข้างมาก ไม่ต้องมีก็ได้ แต่ถ้ามาช่วยข้างน้อยจะเกิดปฏิกิริยาจากเสียงข้างมาก จะทำให้เกิดปัญหา ยืนยันว่า การแสดงความเห็นยึดหลักกฎหมาย ไม่เคยก้าวร้าว หยาบคาย บิดเบือน ข่มขู่ หรือปลุกระดม จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพแนวทางเช่นนี้ และขอให้ กรธ.ระบุให้ชัดเจนว่า หากคำถามพ่วงผ่านการทำประชามติ จะกำหนดกรอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดข้อถกเถียงหรือปัญหาต้องตีความในภายหลังอีก
ส่วนกรณีที่นายกฯระบุว่า เป็นอำนาจของตัวเองในการกำหนดทางออก กรณีร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ โดยไม่ขอบอกล่วงหน้า ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติแล้ว ประชาชนจะมีทางเลือกอย่างไรนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเข้าใจในเรื่องอำนาจ แต่คิดว่า ผู้มีอำนาจควรคิดถึงประชาชนเจ้าของประเทศ ไม่มีใครบังคับนายกฯได้ว่า จะบอกอะไรกับประชาชน แต่สิ่งที่ประชาชนควรรู้ ผู้มีอำนาจก็ควรให้ประชาชนรู้ เมื่อจะทำประชามติให้ประชาชนรู้ให้มากที่สุดไม่ดีกว่าหรือ เพราะเสียทั้งงบฯ และกำลังคนเพื่อให้ได้ความมั่นใจ ว่า ประชาชนต้องการอะไร แต่ถ้าต้องไปใช้สิทธิบนความไม่รู้ การคาดการณ์ ความกลัวหรือความหวังย่อมไม่เป็นผลดี จึงเรียกร้องให้เปิดเผยทุกอย่างให้ได้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของคนทั้งประเทศ สอนบริหารอำนาจ ต้องแยกแยะ
“ผมอยากถามว่า หากเปิดเผยแล้วจะเสียหายอย่างไร อยากให้นายกฯใจเย็น ๆ อากาศร้อนก็ร้อนด้วยกันทุกคน แต่อยากจะเห็นนายกที่มีภาระหนักมากอยู่แล้วว่า ไม่อยากให้เครียด เพราะจะทำให้ประชาชนเครียดไปด้วย นายกฯ ไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็นด้วยกับท่านได้ จึงอยากให้แสดงความเข้าใจ เคารพความเห็นสุจริต พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ทำตัวเป็นปัญหาแต่พยายามให้ความร่วมมือให้บ้านเมืองผ่านช่วงเวลายากๆ ได้ เพราะที่ผ่านมา นายกฯพูดเองว่า ปัญหาเกิดจากการใช้อำนาจในทางที่ทำให้เกิดปัญหา ดังนั้น นายกฯต้องใช้อำนาจให้เป็นแบบอย่างกับรัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้ง เพราะถ้ามีการใช้อำนาจกับคนที่เห็นสุจริต วันหน้าจะมีคนอ้างประชาชนแล้วทำแบบนั้นบ้าง บ้านเมืองไม่ยิ่งอยู่ในวังวนของความขัดแย้งหรือ ผมขอให้แยกแยะคนสุจริตและเคารพความเห็นแตกต่าง โดย คสช.และรัฐบาลไม่ควรทำตัวเป็นคู่ขัดแย้ง” นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่า หากนายกฯไม่บอกว่า จะทำอย่างไร หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติตามที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องจะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็จะตื๊อต่อไป คือ ขอให้พิจารณาให้ดีว่า ถ้าประชาชนรู้ข้อมูลมากที่สุดดีกว่า ซึ่งตนรู้ดีว่าบังคับนายกฯไม่ได้ แต่อยากให้คิดว่าผู้มีอำนาจควรใช้อำนาจเพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลที่รอบด้านเพื่อจะได้ตัดสินใจบนเหตุผลมากที่สุดหรือไม่ เพราะจะทำให้การเมืองเกิดการปฏิรูป ที่ผ่านมาตนไม่เคยเรียกร้องว่า อำนาจต้องอยู่กับนักการเมืองและไม่เคยคัดค้านการตรวจสอบขององค์กรอิสระ แต่บอกว่า คนที่มาจากการเลือกตั้งต้องสามารถผลักดันนโยบายที่เป็นความต้องการของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งได้ อย่าปฏิเสธสิทธิประชาชนและบทบาทของการเมืองที่จะทำสิ่งที่ดีให้ประชาชน และขอให้เข้าใจว่าการแสดงความเห็นโดยสุจริตจะใช้อำนาจบังคับไม่ได้ อย่ามองคนเห็นต่างเป็นปฏิปักษ์
“ผมแสดงความเห็นพื้นฐานความตั้งใจดีและสุจริต ถ้าจะดำเนินการกับผมก็พร้อมพิสูจน์ จะให้ทรยศอุดมการณ์แล้วไม่พูดความจริงไม่ได้ การคาดคั้นให้ตอบรับหรือไม่รับทันทีทันใด ไม่เป็นผลดี ถ้ารัฐบาลและผู้มีอำนาจมองในมุมนี้ จะมีความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น ผมเชื่อว่า นายกฯมีความตั้งใจดีต่อบ้านเมือง แต่ถ้าวิธีการไม่เหมาะสม ก็เกิดปัญหาได้ อย่ามองคนเห็นต่าง คือ ปฏิปักษ์ ขอให้มองเป็นกัลยาณมิตรบ้าง เพราะท่านเองมีประชาชนสนับสนุนมาก หากใจเย็นและทำอะไรให้รอบด้านขึ้น จะเห็นทางออกกว้างกว่านี้ ประเทศยังเดินอยู่บนความเสี่ยงการเปิดให้เดินได้หลายทาง ดีกว่าบีบให้ต้องเดินไปคนละทาง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ยกตัวอย่างผลงาน ปชป.ส่วนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่าที่ผ่านมานักการเมืองเคยทำอะไรสำเร็จบ้างนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยกตัวอย่างนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์ ทำจนสำเร็จ อาทิ นโยบายกองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนสวัสดิการชุมชน โฉนดชุมชนที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้ กองทุน กยศ. ขอให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เร่งสานทำต่อ และแยกแยะเรื่องประชานิยม ออกจากสวัสดิการประชาชน อย่าทำให้เกิดความรู้สึกว่า กระบวนการทางการเมือง ไม่เคยแก้ปัญหาให้กับประเทศชาติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวตอนท้ายว่า การแสดงจุดยืนของพรรคไม่ได้ชี้นำให้ประชาชน ในการออกเสียงประชามติ แต่แสดงความเห็นและให้ข้อมูลตามหลักการประชามติที่ต้องให้รับรู้ข้อมูลทั้งสองด้าน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความเห็นได้ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ไม่อย่างนั้นประชามติจะไร้ความหมาย เพราะถ้าต้องการให้คนเห็นด้วยอย่างเดียวก็ไม่ต้องทำประชามติ พรรคให้เกียรติประชาชน ไม่อยากให้อนาคตเราต้องมาพูดวนซ้ำในเรื่องรัฐธรรมนูญอีก แต่ถ้านายกฯ ไม่เห็นด้วย ก็อย่ากล่าวหาซึ่งกันและกัน เพราะตนไม่เคยกล่าวหาใคร แต่พูดเนื้อหาสาระเพื่อให้สังคมการเมืองเข้าสู่เรื่องของเนื้อหาสาระนำไปสู่การปฏิรูปอย่างแท้จริงไม่ใช่มุ่งทำลายกัน
thairath.co.th