ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 เมษายน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือแก้ปัญหาภัยแล้ง ในพื้น...
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 เมษายน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือแก้ปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่หลายอำเภอในจังหวัดนครราชสีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมอบเงินช่วยเหลือเกษตรกร ชาว อ.ขามสะแกแสง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง เมื่อปี 2558 จำนวน 400 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 78,580,026 บาท หลังจากนั้นได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ปภ.จังหวัด, เกษตรจังหวัด ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์น้ำในแหล่งเก็บน้ำดิบประปาชุมชน จำนวน 7 จุด ในพื้นที่ อ.ขามสะแกแสง และ อ.ด่านขุนทด เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้งนี้
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า ตอนนี้ตนเป็นห่วงทุกพื้นที่ที่ประกาศภัยแล้ง 11 อำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนที่ใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคเมืองนครราชสีมา ซึ่งน้ำดิบที่เหลืออยู่ในบ่อสำหรับผลิตประปาขณะนี้ใช้ได้อีกไม่กี่วัน แต่ทางจังหวัดพยายามหาน้ำดิบในพื้นที่ใกล้เคียงมาเติมให้ ซึ่งตอนนี้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา 24 ชม. ขณะที่อีกหลายอำเภอก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะมีหมู่บ้านประสบภัยแล้งเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ปากช่อง, โนนไทย, พระทองคำ, วังน้ำเขียว, ด่านขุนทด รวมถึง อ.ขามสะแกแสง ซึ่งน้ำที่มีอยู่ผิวดินเริ่มหมดลงแล้ว
ขณะที่หลายพื้นที่ถึงแม้ว่าจะสามารถขุดน้ำใต้ดินได้ แต่เป็นน้ำเค็มมากจนไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ จึงต้องรอน้ำฝนมาเติมน้ำผิวดินเท่านั้น ซึ่งปกติเดือนมีนาคมจะมีฝนตกอยู่บ้าง แต่ปีนี้อากาศเปลี่ยนไปไม่มีวี่แววว่าจะมีฝน ฉะนั้นยังจำเป็นต้องขอความร่วมมือประชาชน ให้ช่วยกันประหยัดน้ำเพื่อฝ่าวิกฤตภัยแล้งนี้ไปร่วมกันให้ได้ ส่วนภาพรวมของเขื่อนหลัก 5 แห่งมีการระบายน้ำตามแผนที่จังหวัดกำหนดไว้ เช่น เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำเหลือกว่า 70 ล้าน ลบ.ม. ที่จะใช้ได้มีการรายงานและตามน้ำกันทุกวัน เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี ก็มีการเปิดน้ำเข้ามาช่วยในการรักษาระบบนิเวศน์และช่วยประปาหมู่บ้านหลายแห่ง อย่างไรก็ตามเราต้องบริหารจัดการน้ำให้รอดไปถึงเดือนมิถุนายนให้ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวอีกว่า ในส่วนของเรื่องการใช้งบประมาณของหน่วยงานรัฐนั้น ตนได้รับรายงานว่ามีบางหน่วยงานที่ อ.ด่านขุนทด (กองทุนการไฟฟ้า) มีโครงการพากันไปศึกษาดูงาน ซึ่งใช้งบประมาณหลายล้านบาท ตนเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ทั้งที่พื้นที่ อ.ด่านขุนทด เกิดปัญหาภัยแล้งและพี่น้องประชาชนกำลังเดือดร้อนกันเป็นจำนวนมาก แต่ยังจะพากันไปดูงานอีก เรื่องนี้ตนจะพิจารณาดูอีกครั้ง
โดยตนคิดว่าช่วงนี้ต้องช่วยเหลือและดูแลพี่น้องประชาชนด้วยกัน ตนจึงได้ขอให้หน่วยงานนั้นปรับเปลี่ยน โดยนำงบทุกงบให้มาเน้นเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้า และเร่งด่วนมากของพี่น้องประชาชน จึงขอแจ้งว่าหากหน่วยงานขอรัฐหน่วยงานใดก็ตาม ทำเรื่องขอใช้งบประมาณไปศึกษาดูงานในช่วงนี้ ตนจะไม่อนุมัติและตีกลับทั้งหมด พร้อมกันนี้ก็ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ชะลอโครงการศึกษาดูงานทั้งหมดในช่วงนี้ด้วย
matichon.co.th
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า ตอนนี้ตนเป็นห่วงทุกพื้นที่ที่ประกาศภัยแล้ง 11 อำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนที่ใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคเมืองนครราชสีมา ซึ่งน้ำดิบที่เหลืออยู่ในบ่อสำหรับผลิตประปาขณะนี้ใช้ได้อีกไม่กี่วัน แต่ทางจังหวัดพยายามหาน้ำดิบในพื้นที่ใกล้เคียงมาเติมให้ ซึ่งตอนนี้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา 24 ชม. ขณะที่อีกหลายอำเภอก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะมีหมู่บ้านประสบภัยแล้งเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ปากช่อง, โนนไทย, พระทองคำ, วังน้ำเขียว, ด่านขุนทด รวมถึง อ.ขามสะแกแสง ซึ่งน้ำที่มีอยู่ผิวดินเริ่มหมดลงแล้ว
ขณะที่หลายพื้นที่ถึงแม้ว่าจะสามารถขุดน้ำใต้ดินได้ แต่เป็นน้ำเค็มมากจนไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ จึงต้องรอน้ำฝนมาเติมน้ำผิวดินเท่านั้น ซึ่งปกติเดือนมีนาคมจะมีฝนตกอยู่บ้าง แต่ปีนี้อากาศเปลี่ยนไปไม่มีวี่แววว่าจะมีฝน ฉะนั้นยังจำเป็นต้องขอความร่วมมือประชาชน ให้ช่วยกันประหยัดน้ำเพื่อฝ่าวิกฤตภัยแล้งนี้ไปร่วมกันให้ได้ ส่วนภาพรวมของเขื่อนหลัก 5 แห่งมีการระบายน้ำตามแผนที่จังหวัดกำหนดไว้ เช่น เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำเหลือกว่า 70 ล้าน ลบ.ม. ที่จะใช้ได้มีการรายงานและตามน้ำกันทุกวัน เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี ก็มีการเปิดน้ำเข้ามาช่วยในการรักษาระบบนิเวศน์และช่วยประปาหมู่บ้านหลายแห่ง อย่างไรก็ตามเราต้องบริหารจัดการน้ำให้รอดไปถึงเดือนมิถุนายนให้ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวอีกว่า ในส่วนของเรื่องการใช้งบประมาณของหน่วยงานรัฐนั้น ตนได้รับรายงานว่ามีบางหน่วยงานที่ อ.ด่านขุนทด (กองทุนการไฟฟ้า) มีโครงการพากันไปศึกษาดูงาน ซึ่งใช้งบประมาณหลายล้านบาท ตนเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ทั้งที่พื้นที่ อ.ด่านขุนทด เกิดปัญหาภัยแล้งและพี่น้องประชาชนกำลังเดือดร้อนกันเป็นจำนวนมาก แต่ยังจะพากันไปดูงานอีก เรื่องนี้ตนจะพิจารณาดูอีกครั้ง
โดยตนคิดว่าช่วงนี้ต้องช่วยเหลือและดูแลพี่น้องประชาชนด้วยกัน ตนจึงได้ขอให้หน่วยงานนั้นปรับเปลี่ยน โดยนำงบทุกงบให้มาเน้นเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้า และเร่งด่วนมากของพี่น้องประชาชน จึงขอแจ้งว่าหากหน่วยงานขอรัฐหน่วยงานใดก็ตาม ทำเรื่องขอใช้งบประมาณไปศึกษาดูงานในช่วงนี้ ตนจะไม่อนุมัติและตีกลับทั้งหมด พร้อมกันนี้ก็ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ชะลอโครงการศึกษาดูงานทั้งหมดในช่วงนี้ด้วย
matichon.co.th