7เมย.เมื่อเวลา 11.45 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อ...
7เมย.เมื่อเวลา 11.45 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ วาระ 2 และ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สนช. เป็นประธานได้พิจารณาเสร็จแล้ว มีทั้งหมด 65 มาตรา สาระสำคัญคือการเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญได้รอบด้าน ไม่ปิดกั้น แต่การแสดงความเห็นต้องเป็นไปโดยสุจริต ไม่ขัดกฎหมาย ทั้งนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะเป็นผู้ทำหน้าที่เผยแพร่ อธิบายสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่ กกต.ต้องวางตัวเป็นกลางในการทำหน้าที่ สำหรับการลงคะแนนครั้งนี้จะไม่ใช้เครื่องลงคะแนน
สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า ความเห็นที่ส่งมาส่วนใหญ่เสนอเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ส.ว.ให้ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในระยะเปลี่ยนผ่านได้หรือไม่ หลังจากรวบรวมความเห็นแล้ว กมธ.เห็นว่าควรเสนอคำถามโดยเน้นความเห็นของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เป็นหลักในการพิจารณา จึงเห็นว่าควรตั้งคำถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปตามยุทธ-ศาสตร์ชาติ ควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่าระหว่าง 5 ปีแรก ตั้งแต่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบบุคคลสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ
ต่อมานายกล้านรงค์ขอมติว่า ในส่วนประเด็นคำถาม ที่ประชุม สนช.เห็นชอบหรือไม่ว่าเพื่อให้การปฏิรูปประเทศต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่าระหว่าง 5 ปีแรกนับตั้งแต่มีรัฐสภาชุดแรก ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี สุดท้าย ที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 152 ต่อ 0 เสียง และงดออกเสียง 15 เสียง จากนั้น นายพรเพชรแจ้งว่าเมื่อที่ประชุมเห็นชอบแล้ว จะส่งคำถามให้ กกต.เพื่อทำประชามติต่อไป ก่อนสั่งปิดการประชุมในเวลา 18.30 น.
ที่มาข่าว : thairath.co.th
ท้วงแหลกห้ามรณรงค์รับ-ไม่รับร่าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกส่วนใหญ่ อาทิ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายตวง อันทะไชย นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ได้อภิปรายท้วงติงเนื้อหาในมาตรา 7 อย่างหนักถึงกรณีที่ กมธ.แก้ไขหลักการตามร่างกฎหมายเดิม โดยตัดคำว่า “รณรงค์” ในการออกเสียงร่างรัฐธรรมนูญทิ้งไป ทำให้ไม่สามารถแสดงความเห็นรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนในการแสดงความคิดเห็น พล.อ.สมเจตน์ชี้แจงว่า การแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ทุกคนทำได้ ไม่ปิดกั้น แต่การรณรงค์ถือเป็นการชักจูงให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในประเทศ คนที่จะรณรงค์ได้มีแค่ กกต.เท่านั้นที่จะรณรงค์ให้ประชาชนมาใช้สิทธิมากที่สุด ฝ่ายอื่นๆไม่สามารถรณรงค์ได้ แม้แต่กรธ.ก็ทำได้แค่ชี้แจงข้อดีร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยทำได้แค่พูดข้อเสียเช่นกัน การพูดว่าให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ถือว่าชี้นำ จะสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายประชามติ อย่างไรก็ตามสมาชิก สนช.หลายคนยืนยันไม่เห็นด้วยกับเนื้อหามาตรานี้ ทำให้ต้องแขวนมาตรา 7 ไว้ เพื่อพิจารณามาตราอื่นก่อน จากนั้นนายพรเพชรสั่งพักการประชุม เพื่อหารือแก้ไขเนื้อหามาตราที่ยังมีปัญหาผ่านฉลุยให้ความเห็นชอบวาระ 3
ภายหลังเปิดการประชุม สนช.อีกครั้ง กมธ. แจ้ง ต่อที่ประชุมว่า ยินยอมแก้ไขข้อความในมาตรา 7 จากเดิมที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย” เป็น “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย” เพื่อให้บุคคลสามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเอง ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสุจริตและไม่ขัดกฎหมาย ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมอภิปรายวาระ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3 ด้วยคะแนน 171 ต่อ 1 งดออกเสียง 3 เสียง ให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยใช้เวลาพิจารณานานกว่า 5 ชั่วโมงครึ่งถามพ่วงตามคาด ส.ว.โหวตนายกฯ
จากนั้นเวลา 17.30 น. ที่ประชุม สนช.เข้าสู่วาระการพิจารณาประเด็นคำถามของ สนช.ที่จะเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามมาตรา 39/1 วรรคเจ็ดของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 โดยนายกล้านรงค์ จันทิก รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาศึกษา เสนอแนะ และรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญสนช. คนที่ 1 กล่าวว่า ความเห็นที่ส่งมาส่วนใหญ่เสนอเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ส.ว.ให้ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในระยะเปลี่ยนผ่านได้หรือไม่ หลังจากรวบรวมความเห็นแล้ว กมธ.เห็นว่าควรเสนอคำถามโดยเน้นความเห็นของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เป็นหลักในการพิจารณา จึงเห็นว่าควรตั้งคำถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปตามยุทธ-ศาสตร์ชาติ ควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่าระหว่าง 5 ปีแรก ตั้งแต่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบบุคคลสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกฯ
จับใส่บทเฉพาะกาลใช้ทันที 5 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกส่วนใหญ่ล้วนอภิปรายแสดงความเห็นด้วยกับการให้ตั้งคำถามพ่วงประชามติ ก่อนที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ขอมติที่ประชุมว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่สนช.จะส่งคำถามประชามติต่อ กกต. โดยที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 142 เสียง ไม่เห็นด้วย 16 เสียง งดออกเสียง 9 เสียงต่อมานายกล้านรงค์ขอมติว่า ในส่วนประเด็นคำถาม ที่ประชุม สนช.เห็นชอบหรือไม่ว่าเพื่อให้การปฏิรูปประเทศต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่าระหว่าง 5 ปีแรกนับตั้งแต่มีรัฐสภาชุดแรก ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี สุดท้าย ที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 152 ต่อ 0 เสียง และงดออกเสียง 15 เสียง จากนั้น นายพรเพชรแจ้งว่าเมื่อที่ประชุมเห็นชอบแล้ว จะส่งคำถามให้ กกต.เพื่อทำประชามติต่อไป ก่อนสั่งปิดการประชุมในเวลา 18.30 น.
ที่มาข่าว : thairath.co.th